วันเสาร์ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 18.26 น.
เครือข่ายสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.)คลัต้ตอร์12 ร้อยแก่นสารสินธ์ ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดร้อยเอ็ด,จังหวัดขอนแก่น,จังหวัดมหาสารคาม ,จังหวัดกาฬสินธุ์ เคลื่อนไหว ยื่นหนังสือ ต้านร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ….รัฐบาล(ฉบับรัฐบาล ตามหนังสือ สคก.660/2564) ผ่านประธานคณะอนุกมธ.ด้านการศึกษาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ ชี้ใช้แนวทางซิงเกิลคอมมานด์ทำคลอด-ลดบทบาท/วิทยฐานะครู ผู้บริหาร กระทบคุณภาพการศึกษาไทย ลิดรอนสิทธิของประชาชน
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 24 ก.ค.3564 ที่โรงแรมวีวิช เขตเทศบาลนครขอนแก่น ดร.เอกราช ช่างเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ ประธานคณะอนุกมธ.ด้านการศึกษา พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พร้อมด้วย นายวัฒนา ช่างเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดขอนแก่น นายเจริญ แซ่เต็ง ข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมรับร่างการศึกษารายละเอียดรายมาตรา เสนอแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ….(ฉบับรัฐบาลตามหนังสือ สคก. 660/2564) ก่อนนำเข้าพิจารณาในรัฐสภาโดยมี ดร.ภูมิพัทร เรืองแหล่ ผอ.สพป.ขอนแก่น เขต 1 (ประธานกรรมการ บริหารกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 12, ผู้ตรวจราชการกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน )นายบัญชา เสนาคูณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 4 สมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) คณะผู้ อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา, คณะรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ,คณะบริหารสถานศึกษา, คณะกรรมการฯ จังหวัดร้อย แก่น สารสินธุ์ ร่วมหารือ
นายบัญชา เสนาคูณ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 4 สมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เหตุผลและข้อเรียกร้องให้รัฐบาล ถอนร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ….(ฉบับรัฐบาลตามหนังสือ สคก. 660/2564) ออกจากรัฐสภา ประเด็นที่ 1 ไม่มีบทบัญญัติที่บ่งบอกถึง ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และผู้บริหารสถานศึกษาที่ จะมีผลบังคับอย่างแท้จริง,ประเด็นที่ 2 ไม่มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และอปท. ประเด็นที่ 3 ไม่มีบทบัญญัติ ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา,ประเด็นที่ 4 ไม่มีองค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่บริหารโดยสภาวิชาชีพ,ประเด็นที่ 5 ไม่มีการจัดระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ, ประเด็นที่6 บทบัญญัติการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เทียมเท่าสากลไม่ชัดเจน,ประเด็นที่ 7 ไม่มีบทบัญญัติให้ตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกระดับทุกประเภทการศึกษา และ ประเด็นที่ 8 เอื้อ ประโยชน์หรือโอนสถานศึกษาของรัฐให้กับเอกชน
ด้าน ดร.ภูมิพัทร เรืองแหล่ ผอ.สพปขอนแก่น เขต 1 (ประธานกรรมการ บริหารกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 12, ผู้ตรวจราชการกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน )กล่าวว่าเหตุผลที่ครูต้องออกมาร่วมกันคัดค้านร่างกฎหมายเพราะเป็นกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 54 และมาตรา 258 (จ) เนื่องจากมาตรา 54 ได้บัญญัติไว้ว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า จากรายงานการวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติมีข้อบ่งชี้ตรงกันว่า ครูและผู้บริหารสถานศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพที่เกิดแก่ผู้เรียน ที่สถานศึกษาหรือโรงเรียน
ดร.ภูมิพัทร กล่าวเพิมเติมว่าจากเดิมที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 ที่กำลังมีผลบังคับใช้อยู่ มาตรา 53 กำหนดให้ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรอื่นที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันให้เด็กไทยทุกคนได้รับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
ดร.ภูมิพัทร กล่าวต่อไปว่าร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่กำลังจะเข้าสู่สภาฯ เห็นได้ว่าเป็นการลดคุณภาพของการจัดการศึกษา โดยมีการปรับเปลี่ยนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของครูเป็นใบรับรองการประกอบวิชาชีพ และผู้บริหารสถานศึกษาเปลี่ยนเป็นตำแหน่งหัวหน้าสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาระดับเขตไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการลดคุณภาพของครู ลดคุณภาพของสถานศึกษา และลดคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่
ดร.ภูมิภัทร กล่าวอีกว่าซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ไม่มีหลักประกันที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เนื่องจากเปลี่ยนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นเพียงใบรับรองการประกอบวิชาชีพนอกจากนี้ ฐานะของครูนั้นเดิมมีการไต่เต้ากันตามลำดับด้วยวิทยฐานะต่างๆ เมื่อทำผลงานได้ก็ขึ้นตามลำดับ แต่ร่างกฎหมายใหม่นี้กลับไม่มี ซึ่งร่างกฎหมายแบบนี้เป็นผลพวงมาจากซิงเกิลคอมมานด์ไม่ได้มาจากไตรภาคีอย่างแท้จริง
ส่วน นายเอกราช ช่างเหลา ประธานคณะอนุ กมธ.ด้านการศึกษา พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กล่าวว่า หลังจากได้ทราบข้อมูล จากการกล่าวรายงานของตัวแทนสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) ถึง ข้อบกพร่อง ความไม่ชอบมาพากล ในการออก พรบ.การศึกษาฉบับใหม่นั้นเนื้อหา ใจความต้องดูข้อมูลรอบด้านทั้งหมดก่อนว่าตอบสนองได้ดีต่อการศึกษา ทั้งต่อบุคลากรและอนาคตของชาติคือลูกหลานของเรา หรือไม่อย่างไร เพราะฉะนั้นในฐานะที่อดีตเป็นข้าราชการครู 30 ปี ย่อมเข้าใจในบริบท ของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มาโดยตลอดขอให้มั่นใจได้ว่า จะนำเรื่องดังกล่าว เข้าปรึกษาหารือ กับ คณะกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวต่อไป
โดยรับปากกับเพื่อนครูว่าจะดูแลในเรื่องนี้ โดยจะขอเป็นประธานกรรมการฯ เพื่อยกร่าง.พรบ.การศึกษา ฉบับใหม่นี้ เพื่อให้ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย น้อยที่สุด”เพราะ“ครู” คือแม่พิมพ์ของชาติ เปรียบเหมือนเบ้าหลอมที่คอยให้ความรู้ อบรมบ่มนิสัยนักเรียนได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพในสังคม ต่อไปในอนาคต โดยจะให้ส่งตัวแทนของสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) จำนวน 2 คนเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการฯ ชุดดังกล่าว เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งจะตัองไม่ให้นอกเหนือจากเนื้อหาในพระราชบัญญัติการศึกษา..ดังกล่าวแต่อย่างใด.