วันอังคาร ที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2564, 15.42 น.
จ.ขอนแก่น เร่ง! แก้ไขปัญหาการจราจร บนถนนกัลปพฤกษ์ หลังร้องสื่อฯร้านอาหารดัง ตั้งกรวยยางบนถนนสาธารณะ เป็นเรื่องการร้องเรียนการบริหารจัดการภาครัฐ ในเรื่องของการจราจร มข.และ ผู้ร้องเรียน ไม่ใช่เป็นคู่กรณีกัน ฝ่ายร้านอาหาร โต้เปิดท้ายตลาดนัด เบียดบังที่จอดรถคนที่อยู่ในละแวกนั้น
เมื่อเวลา 14.00 น. เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2564 ที่ห้องประชุมชั้น 1 ศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายรุติศักดิ์ รังษี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุม การแก้ไขปัญหา การจราจรการจอดรถบริเวณถนนกัลปพฤกษ์ ทั้งสองฝากฝั่ง อาทิฝั่งศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทางฝั่งร้านค้า โดยมีนายกิตติพงษ์ เบี้ยวโกฏิ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น, พ.จ.อ.ชนาเมธ แสงวิเชียร นักจัดการงานเทศกิจปฏิบัติการ, พ.ต.ท.ปรีชา พลพงษ์ สารวัตร จร.ผกก.สภ.เมืองขอนแก่น , ,ร.ต.อ.ศักรินทร์ อัมลา สารวัตรจราจร,นายชาญชัย อุรุพรรณ เจ้าของกิจการ,นายรัชวิน อุรุพรรณ เจ้าของร้านอาหาร,นายเมธิน ปรีเปรม เจ้าของร้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบปัญหาการจอดรถบริเวณหน้าร้าน น.ส.ศิรประภา บำรุงกิจ ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น( ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพย์สิน)มข.,น.ส.วราภรณ์ ผ่านวงษ์ นักวิชาการเงินและบัญชี มข. และสื่อมวลชนร่วมรับฟัง
นายรุติศักดิ์ รังษี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดขอนแก่น ได้สรุปประเด็นแรกว่าได้มอบในเรื่องของกฎหมายการจราจรมอบให้ทาง เทศบาลเทศบาลกับจราจรในการตีเส้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรตีเส้นขาวแดงตีเส้นขาวดำ ตลอดแนว 2 กิโลเมตรตรงบริเวณที่ร้องเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ในประเด็นที่ 1 ส่วนประเด็นที่ 2 ในวันที่มีตลาดนัด 16:00 น.ทาง ตำรวจ เทศกิจเทศบาล และ รปภ.ของ มข. มาร่วมปฏิบัติหน้าที่ มาวางสัญลักษณ์จราจรติดป้ายห้ามจอด ตลอดจนมาบังคับใช้กฎหมาย อยากเห็นจัง โดยไม่เลือกปฏิบัติ ให้ทาง สภ.เมือง ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดำเนินการ เป็นเจ้าภาพหลัก จำนวน 6 นาย โดยทำหนังสือถึงผู้กำกับ ในส่วนของเทศกิจ 3 นาย โดยให้ทำหนังสือถึงนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น และ รปภ.มข.อีกจำนวน 3 นาย มาดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เวลา 16:00 น .ไปจนตลาดนัดเลิกประมาณ 22:00 น.นี้คือมติที่ 1 ในเรื่องของการจัดการจราจรตามกฎหมาย
ส่วนมติที่ 2 ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ที่อยู่บริเวณถนนกัลปพฤกษ์ ตลอดระยะทาง 2 กิโลเมตร รวมถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำผังที่จอดรถให้กับลูกค้า ตามสภาพให้เกิดความสมดุล อย่างร้านค้ามีที่อยู่ 50 ตารางวา จะไปบังคับให้เป็นงาน ก็ไม่ได้ มข.มีที่ อยู่ 500 ไร่จะไปทำ 50 ตรว.ก็ไม่ได้ ต้องทำให้เหมาะสมกับคนที่มาใช้บริการ ตามสภาพทำให้เกิดความสมดุล ดังนั้นทั้งตัวร้านค้าและตัวมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้องทำผังจุดจอดรถ นำมาส่งมาที่ศูนย์ดำรงธรรม เพื่อที่จะนำเข้าคณะกรรมการ(ศจร.)จังหวัด นำเรียนให้ทราบในมาตรการแก้ไข และพร้อมด้วยประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าและผู้ประกอบการ ในกรณีที่ตลาดเปิดท้าย ให้ทราบของการจัดระเบียบตรงนี้ ว่าถนนบริเวณนี้จอดไม่ได้โดยทั่วกันว่า จะต้องไปจอดในที่ให้จอดนี้คือมติที่ 2
ส่วนมติที่ 3 ให้ทางมหาลัยขอนแก่น จัดทำผังร้านค้าตลาดเปิดท้าย จัดทำผังให้เหมาะสม ตลอดจนให้พิจารณาปริมาณของร้านค้าให้พอเหมาะที่ตัวเองจะสามารถบริหารจัดการเรื่องการจราจร ตลอดจนที่จอดรถ เพื่อไม่ให้กระทบกับถนนตรงฝั่งที่มหาลัยขอนแก่นเปิดท้ายตลาดนัดดังกล่าว เมื่อจัดทำผังเสร็จให้ส่งมาพิจารณา เมื่อเข้าคณะกรรมการ(ศจร.)เรียบร้อย ผลรับที่ได้จะออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติงานทุกหน่วยงานทุกฝ่ายจะได้ปฏิบัติตามนั้น ส่วนข้อร้องเรียนของพี่น้องประชาชนที่ไม่ได้รับความสะดวกในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นคู่กรณีระหว่าง มข.และร้านค้า ผู้ประกอบการร้านค้า ไม่มีใครมีอำนาจ ตรงบริเวณนั้น เป็นเรื่องการร้องเรียนการบริหารจัดการภาครัฐ ในเรื่องของการจราจร ไม่ใช่เป็นคู่กรณีกัน เป็นเรื่องของภาครัฐ ที่ต้องไปจัดการจราจรให้แก้ไขปัญหาตรงนั้น เพื่อไม่เป็นการนำไปสู่ ในการที่พี่น้องประชาชนไม่ได้รับสะดวก เป็นมติ 3 ข้อ สรุปส่งตรงนั้น โดยให้เริ่มดำเนินการในวันศุกร์ 12 มี.ค. ในส่วนเรื่องของการตีเส้นจราจรขาว-แดง และขาว-ดำ ถ้าไม่เสร็จไม่เป็นไรตีเส้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแล้วเสร็จ เพราะการเปิดขายของตลาดนัดจะมีปัญหาในลักษณะเช่นนี้ ไปทั่วทั้งประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ดังนั้นต้องใช้หลักรัฐศาสตร์เข้ามาดำเนินแก้ไขเพราะเป็นปัญหา ระหว่างรัฐ
ด้านนายชาญชัย อุรุพรรณ เจ้าของกิจการ ที่ได้รับผลกระทบปัญหาการจอดรถบริเวณหน้าร้าน กล่าวว่าผู้เช่าพื้นที่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันนี้ ที่เปิดตลาดนัดเปิดท้ายขายของทุกวันศุกร์ -เสาร์ และอาทิตย์ มีจำนวนล็อกที่เขาทำกันอยู่ขณะนี้ มันเยอะมากขึ้น บ่ายง่ายๆถ้าสมมุติว่าจำนวนล๊อคทั้งหมดมี700 ล๊อก จำนวนรถผู้เช่า, ผู้ประกอบการ อยู่ในมหาลัยฯในบริเวณตรงนั้นแระมาณ700 ล๊อก นั้นคือต้องมีรถอยู่จำนวน 700 คัน ซึ่งไม่มีลูกค้าเลย แค่ 700 คันมันก็เต็มพื้นที่ จอดรถ ริมถนนบริเวณนั้นแล้ว นี้ยังไม่นับรวมจำนวนรถของลูกค้า และรถของผู้มาใช้บริการเป็นหลัก1,000 คันถึง 2,000 มาใช้พื้นที่บริเวณจอดรถอยู่ในละแวกนั้น
ที่สำคัญทุกครั้งที่มีการเปิดท้ายตลาดนัด คิดดูว่าแบบนี้มันเบียดบังคนที่อยู่ในละแวกนั้นทั้งหมดหรือเปล่า แล้วทางมหาลัยยังไม่เคยแก้ปัญหาได้เลย ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการจอดรถ ทำสถานที่ให้เขามีการจอดรถที่ดีกว่านี้นั่นแหละคือความต้องการของผมผมบอกเลย 2-3 ปีที่ผ่านมาผมเข้าไป ปรึกษาเรื่องปัญหาดังกล่าวกับทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาทางออก จนเดี๋ยวนี้ เขาไม่ให้ผมเข้าพบอีกเลยหลังจากนั้นมา โดยทางมหาลัย บ่ายเบี่ยงแก้ตัวไปวันๆ ทุกครั้งที่เกิดเรื่องขึ้น ไปหาทุกที่ไม่เคยได้พบเลยหลังจากนั้นมา
นายชาญชัย กล่าวอีกว่าในส่วนการที่สื่อมวลชนบางสำนักเสนอข่าว โพสต์ลงโซเชียล กล่าวหาว่าทางร้าน นำกรวยยางไปตั้งบนทางสาธารณะ นั้นขอชี้แจงว่าความจริงแล้วเมื่อหลายปีก่อนได้มีการทำข้อตกลงหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ตำรวจ,รปภ.มหาลัยขอนแก่น ตลอดจนทางผู้ได้รับสัมปทานศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก และผู้ประกอบการ และเทศกิจ เทศบาลนครขอนแก่น ได้ข้อสรุปพื้นฐานว่า สามารถให้มาตั้งกรวยไว้ยังบริเวณหน้าร้านได้เพื่อเป็นการหาทางออกร่วมกันในการแก้ปัญหา ในการเปิดท้ายตลาดนัดขายของ ในพื้นที่บริเวณ ของศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า ความจริงแล้วเป็นข้อตกลงให้ตั้งกรวยยางได้
หลังจากการประชุมเพื่อกำหนดมตินโยบาย ให้ทางตำรวจและเทศกิจ ผู้ประกอบการ ตลอดจนมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปดำเนินการ สื่อมวลชนได้ลงพื้นที่ บนถนนเส้นกัลปพฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ปรากฏว่าได้มีการเปิดท้ายขายของตามปกติ ซึ่งในวันธรรมดา ก็จะมีรถของผู้ที่มาออกกำลังกาย ในพื้นที่ของศูนย์กาญจนาภิเษกขอนแก่น จอดรถริมฟุตบาทเป็นแถวยาว เป็นลักษณะที่เป็นปกติอยู่แล้ว โดยจะหลังจากที่ จราจรจากสภเมืองขอนแก่น มีการตีเส้นจราจรขาว-แดงและขาว-ดำ บอกลักษณะการจอดที่หน้าชัด ทำให้การจราจรไม่ติดขัดเหมือนเดิม เพราะกลัวถูกใบสั่ง หรือไม่ก็ถูกล็อคล้อ จากการที่ได้เข้าไปสำรวจการเปิดท้ายขายของ พบผู้ประกอบการ จะมีประมาณ 400 -500 ร้านค้า โดยส่วนมาก จะเป็นผู้ที่หาเช้ากินค่ำ มีเตรียมของมาขายตั้งแต่เข้า แต่ขายได้จริงตั้งแต่เวลา 16.00 น.จนถึง 22.00 น.ซึ่งจะขายได้เฉพาะวันศุกร์-เสาร์ และอาทิตย์ เป็นการหาเลี้ยงชีพและเลี้ยงครอบครัว ตามที่เศรษฐกิจของโรคโควิด -19 ระบาด ทำให้การค้าขายค่อนข้างที่จะลำบาก ส่วนผู้ประกอบการ ที่มาจับจ่ายใช้สอย ตามนโยบายของรัฐไม่ว่าจะเป็นนโยบายจ่ายผ่านคนละครึ่งหรือเราชนะ ก็มาใช้สิทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาลทำให้คนมาซื้อของกันมากในช่วงวันเวลาดังกล่าว.