วันอังคาร ที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 19.22 น.
การปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม และมอบเช็คชำระหนี้แทน ตามเจตนารมณ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ขาดปัจจัยในการประกอบอาชีพ รวมตัวกันเป็นองค์กรจัดทำแผนและโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน
เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น นายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหารคนที่ 2 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.)เป็นประธานการปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม และมอบเช็คชำระหนี้แทน เพื่อแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติไปยังองค์กรเกษตรกร อีกทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการบริหารโครงการขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบ หลักเกณฑ์คู่มือสนับสนุนโครงการของสำนักงาน ตลอดจนข้อปฏิบัติอื่นๆในการดำเนินงานตามแผนงาน และโครงการ เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบ เกษตรกรต้นแบบ ให้กับองค์กรถัดไป โดยมีดร.วิญญู สะตา ผู้อำนวยการสำนักกิจการสาขาภูมิภาคที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น.ส.อภิญญา อุทัยแสน ในนามของ พนักงานอาวุโส รักษาการในตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จ.ขอนแก่น, นายสุเนตร แก้วคำหาร รองประธานคนที่ 1 นายไพโรจน์ มูลธิยะ รองประธานคนที่ 2 ,คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะ พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้เข้ารับการปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม ร่วมงาน
น.ส.อภิญญา อุทัยแสน รักษาการในตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าตามเจตนารมณ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ขาดปัจจัยในการประกอบอาชีพ รวมตัวกันเป็นองค์กรจัดทำแผนและโครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร 2.ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร3.พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร4.พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร
รวมถึงการให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ซึ่งได้บัญญัติขั้นตอนต่างๆ ไว้ตั้งแต่ การขึ้นทะเบียน การเสนอแผนหรือโครงการ วิธีการเสนอ การพิจารณาอนุมัติ การดำเนินการ และการติดตามประเมินผล ตามที่ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น มีองค์กรเกษตรกร จำนวน 891 องค์กร สมาชิกองค์กร 261,561 ราย ได้รับเงินอุดหนุน 301 โครงการ เป็นเงิน 15,538,445 บาท ปี 2555 – ปี 2561 องค์กรเกษตรกรได้รับเงินกู้ยืมจำนวน 17 องค์กร เป็นเงิน 4,339,500 บาท ปัจจุบันมีเกษตรกรขึ้นทะเบียนหนี้ จำนวน 19,422 ราย 35,966 สัญญา มูลหนี้ 2,276,489,220.39 บาท ชำระหนี้แทนเกษตรกรทั้งสิ้น 466 ราย เป็นเงิน 66,565,202.15 บาท โดยรักษาที่ดินให้เกษตรกรเป็นจำนวน 1,742 ไร่ 77 งาน 70 ตารางวา โอนหลักประกันมาเป็นของกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 181 ราย 255 แปลง 1,742 ไร่ 277 งาน 11 ตารางวา มีลูกหนี้ปิดบัญชีแล้ว โอนกรรมสิทธิ์คืนเกษตรกรแล้ว 83 ราย 115 แปลง 992 ไร่ 12 งาน 73 ตารางวา
ในปีงบประมาณ 2564 จังหวัดขอนแก่น ชำระหนี้แทน จำนวน 28 ราย เป็นเงิน 14,897,077.29 บาท ชำระหนี้แทน จำนวน 467 ราย เป็นเงิน 67,110,675.33 บาท ในปีงบประมาณ 2564 จังหวัดขอนแก่น เกษตรกรยื่นเสนอแผนโครงการ 54 โครงการ 222 ล้านบาท ได้รับอนุมัติโครงการแล้ว 26 โครงการ เป็นเงิน 16,643,400 บาท คงเหลือโครงการ 28 โครงการ เป็นเงิน 113.5 ล้านบาท
โดยในวันนี้ได้จัดทำกิจกรรม การปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม 26 องค์กร และมอบเช็ค ชำระหนี้แทนเกษตรกร ให้สหกรณ์การเกษตรหนองหวาย จำกัด จำนวน 1 ราย จำนวน 545,473.18 บาท รักษาที่ดินให้เกษตรกร 1 แปลง 7 ไร่ 30 ตารางวา
ในการนี้ ได้จัดให้มีการ“การปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม 26 องค์กรและมอบเช็คชำระหนี้แทน”โดยให้มีองค์กรเกษตรกรที่ได้รับเงินกู้ยืมเข้าร่วมโครงการ เข้ารับการปฐมนิเทศ จำนวน 26 องค์กร 54 คน ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 จัดที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น เพื่อปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม 26 องค์กร เพื่อแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติไปยังองค์กรเกษตรกรเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการบริหารโครงการ/ขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบ/หลักเกณฑ์คู่มือสนับสนุนโครงการของสำนักงานและข้อปฏิบัติอื่นๆในการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการ เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบ เกษตรกรต้นแบบ ให้กับองค์กรถัดไป ผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้1.เกษตรกรสมาชิกมีความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีปฏิบัติรวมถึงกรอบการให้การสนับสนุนแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร2. กลุ่มองค์กรเกษตรกรและสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับเกษตรกร จากภาคีความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ3.กลุ่มองค์กรเกษตรกรและสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างเป็นปัจจุบัน และมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯ มากยิ่งขึ้น.
ด้านนายสำเริง ปานชาติ รองประธานกรรมการบริหารคนที่ 2 กฟก.กล่าวว่าการอบรม “การปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม และมอบเช็คชำระหนี้แทน”ในวันนี้ จากการรับฟังคำกล่าวรายงาน นับว่าเป็นสิ่งน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ “การปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม และมอบเช็คชำระหนี้แทน”ในวันนี้ เป็นโครงการที่ดีของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดขอนแก่น
นายสำเริง กล่าวด้วยว่าหลังจากผ่านการปฐมนิเทศในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้ารับการอบรมจะได้นำความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ดี ๆ ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง เพื่อแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติไปยังองค์กรเกษตรกรเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการบริหารโครงการ/ขั้นตอนปฏิบัติตามระเบียบ/หลักเกณฑ์คู่มือสนับสนุนโครงการของสำนักงานและข้อปฏิบัติอื่นๆในการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการ เพื่อเป็นองค์กรต้นแบบ เกษตรกรต้นแบบ ให้กับองค์กรถัดไป และรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานขององค์กรและให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร นำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ในปีต่อไป
“ขอขอบคุณ ทุกท่าน ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ทำให้การอบรมในครั้งนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยดี ขอบคุณคณะอนุกรรมการจังหวัดและเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูฯ ตลอดจนเกษตรกร ทุกท่านที่เสียสละเวลามาทำการอบรม“การปฐมนิเทศองค์กรที่ได้รับงบกู้ยืม และมอบเช็คชำระหนี้แทน” ในครั้งนี้ ” นายสำเริง กล่าว.