จากการประชุมเรื่องแนวทางการช่วยเหลือการลงทะเบียนโครงการเราชนะให้กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ไม่มีสมาร์ทโฟนทำให้ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อยู่ในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุพิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนเองหรือเดินทางไปใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ที่ได้รับผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ สำหรับการพิจารณาแนวทางเพิ่มจุดรับลงทะเบียนโครงการนั้น ทางกระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าวที่ไม่สามารถเดินทางไปจุดบริการลงทะเบียนได้ ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน หรือ ธ.ก.ส. ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 5 มีนาคม 2564 นั้น
- ทหารสกัดรถกระบะเตรียมส่งข้ามพรมแดน 2 คัน
- แม่ฮ่องสอนซ้อมเสมือนจริงฝึกดับไฟป่า
- รวบหนุ่มชิงรถจจย.นักศึกษาสาวราชภัฏ
นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยนายชานนท์ ฉัตร์รุ่ง ผู้บริหารกลุ่มเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ซึ่งดูแลพื้นที่ 4 จังหวัดอีสาน คือ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ได้ร่วมกันลงจัดชุดลงทะเบียนเคลื่อนที่ ไปบ้านของนางทองดา มีพร อายุ 87 ปี ที่ชุมชนบะขาม เทศบาลนครขอนแก่น เป็นผู้สูงอายุที่เดินไม่สะดวก จัดอยู่ในกลุ่มเปราะบางที่หน่วยงานได้ให้บริการลงทะเบียนโครงการเราชนะถึงบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกและเข้าถึงกลุ่มประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างทั่วถึง นายสมศักดิ์ กล่าวว่า โครงการเราชนะ ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง หรือ กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุพิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนเองหรือเดินทางไปใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ที่ได้รับผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังได้ โดยได้สั่งการให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในทุกอำเภอได้ลงพื้นที่สำรวจจำนวนกลุ่มผู้เปราะบาง เบื้องต้นพบว่าทั้งจังหวัดจำนวน 426 คน
“วันนี้ลงพื้นที่เพื่อทดลองและทดสอบระบบการทำงาน ระยะเวลาของการให้บริการเคลื่อนที่ในการลงทะเบียนโครงการเราชนะ ซึ่งนางทองดา ถือเป็นรายแรกของจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำข้อมูลการลงพื้นที่ในครั้งนี้ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งคลังจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฝ่ายปกครอง ธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธ.ก.ส. ซึ่งถือเป็นตัวแทนของภาครัฐที่จะจัดชุดเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนถึงหมู่บ้าน สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลไปออกแบบวางแผนการลงพื้นที่ในอำเภออื่น โดยจะรวบรวมข้อมูลทั้งเวลาในการทะเบียน ความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ตในแต่ละอำเภอเพื่อใช้ในการสแกนใบหน้า เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิ์โครงการเราชนะทุกคน ได้รับทราบสถาพปัญหาเพื่อนำข้อมูลใช้ในการอุดช่องว่างปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น” นายสมศักดิ์ กล่าวจากการประชุมของจังหวัดขอนแก่น จะนำโครงสร้างของโครงการคู่เสี่ยวเกี่ยวก้อย ซึ่งจะมีกลุ่มข้าราชการ ที่จะคอยดูแลกลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มผู้สูงอายุ ในพื้นที่ ระดมกำลังในการค้นหากลุ่มคนที่ได้รับความเดือดร้อน ได้เข้าถึงบริการของรัฐทุกกลุ่ม ทุกคน
เรื่องโดย กวินทรา ใจซื่อ | ภาพโดย กวินทรา ใจซื่อ