เผยแพร่: ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ศูนย์ข่าวขอนแก่น-“ซีแพค กรีนโซลูชั่น” ตะลุยอีสาน ประเดิมที่ขอนแก่น ยกระดับวงการก่อสร้างไทย ล้ำเปลี่ยนโลก ครบจบที่เดียวในวงการก่อสร้าง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องประชุมออคิด บอลลูม โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด นายศิริมงคล ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการ CPAC Solution Center จ.ขอนแก่น พร้อมด้วย ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เป็นประธานเปิดการเสวนา “CPAC Green Solution ล้ำเปลี่ยนโลก Roadshow” ซึ่ง บ.ซีแพค จัดกิจกรรมขึ้น โดยมีผู้ประกอบการซีแพค และนักธุรกิจในเขต จ.ขอนแก่น เข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด
นายศิริมงคล ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการ CPAC Solution Center จ. ขอนแก่น กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง และสร้างความร่วมมือ ระหว่างผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตั้งแต่เจ้าของงานก่อสร้าง, ผู้รับเหมา,ช่าง, ผู้ให้บริการด้านการก่อสร้าง, ผู้ออกแบบ, ผู้ผลิตวัสดุ และผู้จำหน่ายวัสดุทั้งในระดับประเทศรวมถึงระดับท้องถิ่น ซึ่งซีแพคกรีนโซลูชัน ไม่เคยหยุดนิ่งศึกษานวัตกรรมใหม่ๆ และนำมาปรับใช้ เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล
ขณะเดียวกันยังคำนึงถึง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการ “Turn Waste to Value” คือการเปลี่ยน Waste หรือความสูญเสียให้เป็น Value หรือการสร้างผลประโยชน์คืนกลับสู่สังคม ผ่านการพัฒนานวัตกรรมโซลูชันครบวงจรด้วย CPAC Green Solution โดยมีการนำแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ยึดหลัก ESG 4Plus ของ SCG มาใช้ดำเนินงาน
ซีแพค กรีน โซลูชัน สามารถตอบโจทย์ลูกค้าครบ จบที่เดียว ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง, ระหว่างก่อสร้าง และหลังก่อสร้าง โดยแบ่งเป็นกลุ่ม เริ่มจากกลุ่มโซลูชันสำหรับงานสำรวจ และงานออกแบบ รวมไปถึงการควบคุมงานก่อสร้าง ได้แก่ CPAC Drone Solution โซลูชันสำหรับการสำรวจพื้นที่ โดยใช้โดรนบินสำรวจ และนำข้อมูลมาออกแบบจัดทำผังโครงการ ลดระยะเวลาสำรวจและลดความผิดพลาดการก่อสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ และ CPAC BIM ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบริหารงานก่อสร้าง เพื่อช่วยให้เห็นภาพงานก่อสร้างในทุกขั้นตอน
นายศิริมงคล กล่าวต่อว่า สุดท้ายคือ CPAC Ultracrete Solution เทคโนโลยีคอนกรีตสมรรถนะสูงผสมเส้นใยเหล็กที่มีกำลังรับแรงอัดมากกว่า 1,500 ksc ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดของงานโครงสร้าง ตอบโจทย์แนวทางด้าน Low Carbon Construction ด้วยนวัตกรรมงานโครงสร้างจากวัสดุคอนกรีตสมรรถนะสูง ร่วมกับเทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างแบบใหม่ โครงสร้างที่ใช้ CPAC Ultracrete Solution นี้จะใช้ปริมาณวัสดุคอนกรีตและเหล็กเสริมน้อยกว่าโครงสร้างคอนกรีตธรรมดา
ลดการใช้วัสดุได้มากถึง 40% สามารถลดขนาดโครงสร้างลงได้มากกว่า 20% เมื่อเทียบกับการใช้โครงสร้างทั่วไป ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม เหมาะกับการใช้งานก่อสร้างโครงสร้างที่ต้องการรับแรงสูง เช่น สะพาน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับงานตกแต่งด้านสถาปัตยกรรม เช่น Street Furniture หรือ Facade ตกแต่งอาคาร เป็นต้น
ขณะที่ ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างเกิดการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ดังนั้นจึงนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาพัฒนา ให้กระบวนการการดำเนินงาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานให้มากที่สุด
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ปัจจุบันนำเอาเข้ามาใช้ ได้แก่ BIM หรือ Building Information Modeling เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบครบวงจรที่มีความแม่นยำ ตั้งแต่การออกแบบ การเขียนแบบ การคำนวณโครงสร้าง การประเมินราคา การวางแผนระบบต่างๆของอาคาร
BIM จะเข้ามาช่วยลดขั้นตอนความซับซ้อน ซึ่งหลักการทำงานของ BIM คือทุกคนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์ของโครงการก่อสร้างจะทำงานบนแพลตฟอร์มเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แพลตฟอร์มนี้จะเป็นระบบ 3 มิติ ทำให้เห็นภาพได้ง่ายเข้าใจในสิ่งเดียวกัน ระบบสามารถตรวจสอบความขัดแย้งต่างๆ และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มต้น
สำหรับแนวโน้มในอนาคตมองว่า BIM จะต้องเข้ามาปฏิวัติวงการก่อสร้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับวงการก่อสร้างจะต้องปรับตัวเข้าสู่ทิศทางการทำงานของ BIM เพื่อให้เราสามารถแข่งขันในธุรกิจนี้ต่อไปได้